Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เอกัคคตา , then อกคคตา, เอกคฺคตา, เอกัคคตา .

Eng-Thai Lexitron Dict : เอกัคคตา, not found

Thai-Eng Lexitron Dict : เอกัคคตา, not found

Royal Institute Thai-Thai Dict : เอกัคคตา, 1 found, display 1-1
  1. เอกัคตา : [เอกักคะ] น. ''ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว'' หมายถึง ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว. (ป. เอกคฺคตา).

Budhism Thai-Thai Dict : เอกัคคตา, 8 found, display 1-8
  1. เอกัคคตา : ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่สมาธิ (พจนานุกรมเขียน เอกัคตา) ดู ฌาน
  2. รูปฌาน : ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์มี ๔ คือ ๑) ปฐมฌาน ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตก(ตรึก) วิจาร(ตรอง) ปีติ(อิ่มใจ) สุข(สบายใจ) เอกัคคตา(จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง) ๒)ทุติยฌาน ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติ, สุข, เอกัคคตา ๓)ตติยฌาน ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุข, เอกัคคตา ๔) จตุตถฌาน ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา, เอกัคคตา
  3. ฌาน : การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่ เป็นอัปปนาสมาธิ, ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก; ฌาน ๔ คือ ๑.ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) ๒.ทุติยฌาน มีองค์ ๓ (ปีติ สุข เอกัคคตา) ๓.ตติยฌาน มีองค์ ๒ (สุข เอกัคคตา) ๔.จตุตถฌาน มีองค์ ๒ (อุเบกขา เอกัคคตา); ฌาน ๕ ก็เหมือนอย่าง ฌาน ๔ นั่นเอง แต่ตามแบบอภิธรรม ท่านซอยละเอียดออกไป โดยเพิ่มข้อ ๒ แทรกเข้ามา คือ ๑.ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) ๒.ทุติยฌาน มีองค์ ๔ (วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) ข้อ ๓.๔.๕.ตรงกับ ข้อ ๒.๓.๔.ในฌาน ๔ ตามลำดับ
  4. ตติยฌาน : ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุข กับ เอกัคคตา
  5. ปฐมฌาน : ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือวิตก (ความตรึก) วิจาร (ตรอง) ปีติ (ความอิ่มใจ) สุข (ความสบายใจ) เอกัคคตา (ความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง)
  6. องค์ฌาน : (บาลี ว่า ฌานงฺค) องค์ประกอบของฌาน, องค์ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกันเข้าเป็นฌานขั้นหนึ่งๆ เช่น ปีติ สุข เอกัคคตา รวมกันเรียกว่า ฌานที่ ๒ หรือทุติยฌาน; องค์ฌานทั้งหมดในฌานต่างๆ นับแยกเป็นหน่วยๆ ไม่ซ้ำกัน มีทั้งหมด ๖ อย่าง คือ วิตก ความตรึก วิจาร ความตรอง ปีติ ความอิ่มใจ สุข ความสุข อุเบกขา ความมีจิตเรียบสมดุลเป็นกลาง และ เอกัคคตา ความมีอารมณ์หนึ่งเดียว ดู ฌาน
  7. อัญญสมานาเจตสิก : เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้รับกับจิตทุกฝ่ายทั้งกุสลและอกุศล มิใช่เข้าได้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียว มี ๑๓ แยกเป็น ก) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง) ๗ คือ ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์) เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ) ข) ปกิณณกเจตสิก (เจตสิกที่เรี่ยราย คือ เกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง) ๖ คือ วิตก (ความตรึกอารมณ์) วิจาร (ความตรองอารมณ์) อธิโมกข์ (ความปักใจในอารมณ์) วิริยะ ปีติ ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์)
  8. สมาธิ : ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, การมีจิตกำหนดแน่วแน่อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ มักใช้เป็นคำเรียกง่าย ๆ สำหรับอธิจิตตสิกขา; ดู เอกัคคตา, อธิจิตตสิกขา

ETipitaka Pali-Thai Dict : เอกัคคตา, 1 found, display 1-1
  1. เอกคฺคตา : (อิต.) ความเป็นแห่งจิตมีอารมณ์ เดียว, ฯลฯ, ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีจิต แน่วแน่อยู่ในอารมณ์เดียว, ความที่แห่งจิต เป็นจิตมีอารมณ์เดียว (ไม่ฟุ้งซ่าน), ฯลฯ, สมาธิ, อัปปนาสมาธิ.

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : เอกัคคตา, not found

(0.1308 sec)