ธัมมปฏิสัมภิทา : ปัญญาแตกฉานในธรรม, เห็นคำอธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นหัวข้อได้ เห็นผลก็สืบสาวไปหาเหตุได้ (ข้อ ๒ ใน ปฏิสัมภิทา ๔)
นิรุตติปฏิสัมภิทา : ปัญญาแตกฉานในภาษา คือเข้าใจภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำให้คนเข้าใจ ตลอดทั้งรู้ภาษาต่างประเทศ (ข้อ ๓ ในปฏิสัมภิทา ๔)
นิสสารณา : การไล่ออก, การขับออกจากหมู่ เช่น นาสนะสามเณรผู้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าออกไปเสียจากหมู่ (อยู่ในอปโลกนกัมม์) ประกาศถอนธรรมกถึกผู้ไม่แตกฉานในธรรมในอรรถ คัดค้านคดีโดยหาหลักฐานมิได้ ออกเสียจากการระงับอธิกรณ์ (อยู่ในญัตติกัมม์) คู่กับ โอสารณา
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา : ความแตกฉานในปฏิภาณได้แก่ไหวพริบ คือ โต้ตอบปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือแก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ฉับพลันทันการ (ข้อ ๔ ในปฏิสัมภิทา ๔)
ปฏิสัมภิทา : ความแตกฉาน, ความรู้แตกฉาน, ปัญญาแตกฉาน มี ๔ คือ ๑.อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ ๒.ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม ๓.นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ คือ ภาษา ๔.ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ
ปฏิสัมภิทามรรค : ทางแห่งปฏิสัมภิทา, ข้อปฏิบัติที่ทำให้มีความแตกฉาน; ชื่อคัมภีร์หนึ่งแห่งขุททกนิกาย ในพระสุตตันตปิฎก เป็นภาษาของพระสารีบุตร
มหาโกฏฐิตะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดในตระกูลพราหมณ์ในเมืองสาวัตถี บิดาเป็นมหาพราหมณ์ชื่ออัสสลายนะ มารดาชื่อจันทวดี ท่านเรียนจบไตรเพท ได้ฟังเทศนาของพระศาสดามีความเลื่อมใส บวชแล้ว เจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางเป็นผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔
อัตถปฏิสัมภิทา : ปัญญาแตกฉานในอรรถ, ความแตกฉานสามารถอธิบายเนื้อความย่อของภาษิตโดยพิสดาร และความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไปจากเหตุ (ข้อ ๑ ในปฏิสัมภิทา ๔)
เตปิฏกปริยตฺติปฺปเภท : (วิ.) ผู้แตกฉานใน ปริยัติ คือ หมวดแห่งปิฏกสาม.
ธมฺมปฏิสมฺภิณาฌ : (นปุ.) ความรู้ (ปัญญา) อันแตกฉานในเหตุที่ทำให้เกิด ผล
ธมฺมวิทู : ค. ผู้รู้ธรรม, ผู้เข้าใจธรรม, ผู้แตกฉานธรรม
นิรุตฺติปฏิสมฺภิทา : (อิต.) ปัญญาอันแตกฉาน ด้วยดีโดยต่างในภาษา, นิรุตติปฏิสัมภิทา คือความรู้และความเข้าใจภาษาและรู้จัก ใช้ถ้อยคำให้คนเข้าใจ ตลอดจนรู้ภาษา ต่างประเทศ.
นิรุตฺติสภา : (อิต.) สภาแห่งบัณฑิตผู้แตกฉาน ในภาษา, สภาแห่งบัณฑิตผู้มีหน้าที่ เกี่ยวกับภาษา.
ปฏิสมฺภิทา : อิต. ปฏิสัมภิทา, ความแตกฉาน, ปัญญาอันแตกฉาน
ปิฏกธร : ค. ผู้ทรงพระไตรปิฎก, ผู้แตกฉานพระไตรปิฎก
อตฺถปฏิสมฺภิทาญาณ : (นปุ.) ความรู้(ปัญญา)อันแตกฉานในผล, ปัญญาที่แตกฉานในผลทั้งปวงอันเกิดจากเหตุทั้งปวง, ความรู้อันแตกฉานในอรรถ.