โลกิย, โลกิยะ, โลกีย์ : ว. เกี่ยวกับโลก, ทางโลก, ธรรมดาโลก, ของโลก, ตรงข้ามกับ โลกุตระ, เช่น โลกิยธรรม เรื่องโลกิยะ, โดยปริยายหมายถึงที่เกี่ยวกับกามารมณ์ เช่น เรื่องโลกีย์. (ป.; ส. เลากฺย).
โลกิย, โลกิยะ, โลกีย์ :
ดู โลก, โลก.
เลากัย : ว. โลกีย์. (ส. เลากฺย; ป. โลกิย).
โลกียวิสัย : น. เรื่องโลกีย์, เรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับกามารมณ์, เรื่อง ของคนที่ยังมีกิเลสอยู่.
โลกียสุข : น. ความสุขทางโลก, ความสุขทางกามารมณ์, เช่น การ ดูมหรสพเป็นโลกียสุขอย่างหนึ่ง.
โลกียวิสัย :
ดู โลก, โลก.
คติพจน์ : น. ถ้อยคําที่เป็นแบบอย่าง. คติสุขารมณ์ น. ลัทธิที่ถือว่าความสุขทางผัสสะหรือโลกียสุขในชีวิต ปัจจุบัน เป็นสิ่งสูงสุดหรือเป็นความดีสูงสุดของชีวิต. (อ. hedonism).
โลกย์, โลกยะ, โลกัย : ว. ของโลก. (ส. โลกฺย).
โลกีย์ : เกี่ยวกับโลก, ทางโลก, เนื่องในโลก, เรื่องของชาวโลก, ยังอยู่ในภพ ๓, ยังเป็นกามาวจร รูปาวจร หรืออรูปาวจร; คู่กับ โลกุตตระ
โลกิยฌาน : ฌานโลกีย์, ฌานอันเป็นวิสัยของโลก, ฌานของผู้มีจิตยังไม่เป็นโลกุตตระ, ฌานที่ปุถุชนได้
โลกิยวิมุตติ :
วิมุตติที่เป็นโลกีย์ คือความพ้นอย่างโลกๆ ไม่เด็ดขาด ไม่สิ้นเชิง กิเลสและความทุกข์ยังกลับครอบงำได้อีก ได้แก่วิมุตติ ๒ อย่างแรกคือ ตทังควิมุตติ และ วิกขัมภนวิมุตติ ดู วิมุตติ, โลกุตตรวิมุตติ
โลกิยสุข : ความสุขอย่างโลกีย์, ความสุขที่เป็นวิสัยของโลก, ความสุขที่ยังประกอบด้วยอาสวะ เช่น กามสุข มนุษยสุข ทิพยสุข ตลอดถึงฌานสุขและวิปัสสนาสุข
ธรรม ๒ หมวดหนึ่ง : คือ ๑.รูปธรรม ได้แก่รูปขันธ์ทั้งหมด ๒.อรูปธรรม ได้แก่ นามขันธ์ ๔ และนิพพาน; อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.โลกียธรรม ธรรมเป็นเป็นวิสัยของโลก ๒.โลกุตตรธรรม ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ; อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.สังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด ๒.อสังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน
อภิญญา : ความรู้ยิ่ง, ความรู้เจาะตรงยวดยิ่ง, ความรู้ชั้นสูง มี ๖ อย่างคือ ๑) อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ ๒) ทิพพโสต หูทิพย์ ๓) เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้ ๔) ปุพเพนิวาสานุสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ ๕) ทิพพจักขุ ตาทิพย์ ๖) อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป, ๕ อย่างแรกเป็นโลกียอภิญญา ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตรอภิญญา