Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ใคร , then คร, ใคร .

Eng-Thai Lexitron Dict : ใคร, more than 7 found, display 1-7
  1. who : (PRON) ; ใคร
  2. whom : (PRON) ; ใคร (ทำหน้าที่เป็นกรรมของ who) ; Related:ผู้ใด (ทำหน้าที่เป็นกรรมของ who)
  3. Says who? : (SL) ; ใครว่าอย่างนั้น? (คำถามท้าทาย / ไม่เห็นด้วย) ; Related:ใครพูดน่ะ? ; Syn:Sez who?
  4. Sez who? : (SL) ; ใครว่าอย่างนั้น? (คำถามท้าทาย / ไม่เห็นด้วย) ; Related:ใครพูดน่ะ? ; Syn:Says who?
  5. whoever : (PRON) ; ใครก็ตาม ; Related:ไม่ว่าใครก็ตามที, ผู้ใดก็ตาม, ใครทำก็ตาม
  6. First come, first served : (IDM) ; ใครมาก่อนได้ก่อน ; Related:คนที่ได้รับการบริการเป็นคนแรก
  7. If the cap fits, wear it. : (IDM) ; ใครใช้ได้เอาไปเลย
  8. Eng-Thai Lexitron Dict : ใคร, more results...

Thai-Eng Lexitron Dict : ใคร, more than 7 found, display 1-7
  1. ใคร : (PRON) ; who ; Related:person ; Def:คำที่ใช้แทนคำนามที่เป็นคน แสดงคำถาม เช่น ใครจะไปเที่ยวบ้าง หรือแสดงความไม่เฉพาะเจาะจง เช่น ไม่มีใครไป ; Samp:ออกไปดูซิว่าใครมาหน้าบ้าน ; Unit:คน
  2. ใครคนหนึ่ง : (PRON) ; someone ; Related:one ; Syn:ใครสักคน ; Def:ผู้ใดผู้หนึ่ง ; Samp:ผมรู้สึกอุ่นใจเมื่อรู้ว่ามีใครคนหนึ่งพร้อมที่จะยืนเคียงข้างผมเสมอ ; Unit:คน
  3. ใครก็ตาม : (PRON) ; whoever ; Related:anybody, anyone ; Syn:ผู้ใดก็ตาม, ไม่ว่าใคร ; Def:คนใดก็ตามไม่เฉพาะเจาะจง ; Samp:ใครก็ตามที่นำเบาะแสมาแจ้งแก่ตำรวจจะได้รับเงินรางวัลไป ; Unit:คน
  4. ใครต่อใคร : (PRON) ; anyone ; Related:anybody ; Syn:ใคร ; Samp:ใครต่อใครก็ชอบเล่นกีฬากันทั้งนั้น ; Unit:คน
  5. ใครก็ได้ : (PRON) ; whoever ; Related:anyone ; Syn:ผู้ใดก็ได้ ; Def:ผู้ใดก็ได้ไม่เฉพาะเจาะจง ; Samp:ผมจะยกสมบัติให้ใครก็ได้แต่ไม่ใช่คุณ ; Unit:คน
  6. ไม่ไว้หน้าใคร : (V) ; have no respect ; Related:be inconsiderate ; Syn:ไม่เห็นแก่ใคร, ไม่เกรงใจ ; Samp:เขาคิดว่าไม่เห็นจะต้องไม่ไว้หน้าใคร เพราะมันเป็นการทำตามหน้าที่
  7. ทีใครทีมัน : (N) ; his time his turn ; Syn:ทีเขาทีเรา ; Def:โอกาสของใครก็เป็นของคนนั้น ; Samp:เรื่องนี้ผมช่วยไม่ได้นะ ทีใครทีมัน
  8. Thai-Eng Lexitron Dict : ใคร, more results...

Royal Institute Thai-Thai Dict : ใคร, more than 5 found, display 1-5
  1. ใคร ๒, ใคร : [ไคฺร] ส. ผู้ใดผู้หนึ่ง, คนใดคนหนึ่ง, (ซึ่งมิได้กำหนดแน่นอนลงไป) เช่น ฉันไม่อยากพึ่งใคร ใคร ๆ ก็ช่วยอะไรเขาไม่ได้.
  2. ใคร : [ไคฺร] ส. คนไหน, ผู้ใด, ใช้เป็นคำถาม เช่นใครมา เขาไปกับใคร.
  3. ทีใครทีมัน : น. โอกาสของใครก็เป็นของคนนั้น.
  4. ไม่เข้าใครออกใคร : ก. ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง, เป็นกลาง, คงความเป็นตัว ของตัวเอง, ไม่เห็นแก่หน้าใคร, เช่น เขาตัดสินไม่เข้าใครออกใคร ปืนไม่เข้าใครออกใคร.
  5. หนามแหลมไม่มีใครเสี้ยม : (สํา) น. คนที่มีปฏิภาณไหวพริบตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องมีใครสอน, มักใช้เข้าคู่กับ มะนาวกลมเกลี้ยงไม่มีใครกลึง.
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : ใคร, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : ใคร, more than 5 found, display 1-5
  1. กตัตตากรรม : กรรมสักว่าทำ, กรรมที่เป็นกุศลก็ตาม อกุศลก็ตาม สักแต่ว่าทำคือไม่ได้จงใจจะให้เป็นอย่างนั้นโดยตรง หรือมีเจตนาอ่อนไม่ชัดเจน ย่อมให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่น ท่านเปรียบเสมือนคนบ้ายิงลูกศร ย่อมไม่มีความหมายจะให้ถูกใคร ทำไปโดยไม่ตั้งใจชัดเจน ดู กรรม๑๒ - casual act, cumulative or reserve Karma.
  2. โฆสัปปมาณิกา : คนพวกที่ถือเสียงเป็นประมาณ, คนที่นิยมเสียง เกิดความเลื่อมใสศรัทธาเพราะเสียง ชอบฟังเสียงไพเราะ เช่น เสียงสวดสรภัญญะ เทศน์มหาชาติเป็นทำนอง เสียงประโคม เป็นต้น; อีกนัยหนึ่งว่า ผู้ถือชื่อเสียงกิตติศัพท์ หรือความโด่งดังเป็นประมาณ เห็นใครมีชื่อเสียงก็ตื่นไปตาม
  3. ใจจืด : ขาดเมตตา เช่น พ่อแม่ มีกำลังพอที่จะเลี้ยงดูลูกได้ก็ไม่เลี้ยงดูลูกให้สมควรแก่สถานะ เป็นต้น, ไม่เอื้อเฟื้อแก่ใคร
  4. ฉันนะ : อำมาตย์คนสนิทผู้เป็นสหชาติและเป็นสารถีของเจ้าชายสิทธัตถะในวันเสด็จออกบรรพชา ฉันนะตามเสด็จไปด้วย ภายหลังบวชเป็นภิกษุถือตัวว่าเป็นคนใกล้ชิดพระพุทธเจ้ามาแต่เก่าก่อน ใครว่าไม่ฟังเกิดความบ่อยๆ หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ถูกสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์หายพยศ และได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
  5. ตถาคต : พระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า เป็นคำที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกหรือตรัสถึงพระองค์เอง แปลได้ความหมาย ๘ อย่าง คือ ๑.พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น คือ เสด็จมาทรงบำเพ็ญพุทธจริยา เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก เป็นต้น เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ อย่างไรก็อย่างนั้น ๒.พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น คือทรงทำลายอวิชชาสละปวงกิเลสเสด็จไปเหมือนอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ อย่างไรก็อย่างนั้น ๓.พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ คือ ทรงมีพระญาณหยั่งรู้เข้าถึงลักษณะที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลายหรือของธรรมทุกอย่าง๔.พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น คือ ตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือปฏิจจสมุปบาทอันเป็นธรรมที่จริงแท้แน่นอน ๕.พระผู้ทรงเห็นอย่างนี้ คือ ทรงรู้เท่าทันสรรพอารมณ์ที่ปรากฏแก่หมู่สัตว์ทั้งเทพและมนุษย์ ซึ่งสัตวโลกตลอดถึงเทพถึงพรหมได้ประสบและพากันแสวงหา ทรงเข้าใจสภาพที่แท้จริง ๖.พระผู้ตรัสอย่างนั้น (หรือมีพระวาจาที่แท้จริง) คือ พระดำรัสทั้งปวงนับแต่ตรัสรู้จนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ล้วนเป็นสิ่งแท้จริงถูกต้อง ไม่เป็นอย่างอื่น ๗.พระผู้ทำอย่างนั้น คือ ตรัสอย่างใดทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น ๘.พระผู้เป็นเจ้า (อภิภู) คือ ทรงเป็นผู้ใหญ่ยิ่งเหนือกว่าสรรพสัตว์ตลอดถึงพระพรหมที่สูงสุด เป็นผู้เห็นถ่องแท้ ทรงอำนาจ เป็นราชาที่พระราชาทรงบูชา เป็นเทพแห่งเทพ เป็นอินทร์เหนือพระอินทร์ เป็นพรหมเหนือประดาพรหม ไม่มีใครจะอาจวัดหรือจะทดเทียมพระองค์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ
  6. Budhism Thai-Thai Dict : ใคร, more results...

ETipitaka Pali-Thai Dict : ใคร, more than 5 found, display 1-5
  1. คร : (นปุ.) พิษ เช่นพิษงู. ครฺ นิครเณ, อ. เป็น ปุ. ก็มี.
  2. กีทิส กีทิกฺข กีริส กีริกฺข กีที : (วิ.) เช่นไร, ผู้เช่นไร. วิ. กมิว นํ ปสฺสตีติ กีทิโส (เห็น ซึ่งบุคคลนั้นราวกะบุคคลไร, ...ราวกะว่า ใคร). โก วิย นํ ปสฺสตีติ กีทิโส วา (เห็น ซึ่งบุคคลนั้นราวกะ อ. ใคร). กีปุพฺโพ, ทิสฺ เปกฺขเณ, กฺวิ. ลบ นิคคหิต ทีฆะ ศัพท์ที่ ๒ และ ๔ แปลง ส เป็น กฺข ศัพท์ที่ ๓ และ ๔ แปลง ท เป็น ร ศัพท์ที่ ๕ แปลง ส เป็น อี รูปฯ ๕๗๒. โมคฯ สมาสกัณฑ์ ๘๗ ลง ริกฺข ปัจ.
  3. ก. : ๑. ป. พระพรหม ; ลม; ไฟ ; ใจ; ๒. นป. หัว, ผม; น้ำ; ๓. ส. ใคร? อะไร? สิ่งไหน?
  4. จาริตฺต : (นปุ.) ความประพฤติ, ความสมสู่ อู่. จาริตฺตํ อาปชฺชิตฺวา ถึงความสมสู่, จารีต. รูปฯ ๖๕๑ ให้ วิ. ว่า จริตานํ คโณ จาริตฺตํ. อถวา, จรนฺติ ตสฺมึ ปริปูริการิตายาติ จาริตฺตํ. จรฺ จรเณ, ณิตฺตปจฺจโย. ไทย จารีต คือสิ่งที่ประพฤติต่อๆ กันมาประเพ ณีที่ถือสืบต่อกันมาหรือการปฏิบัติที่ทำเป็น ประจำ มักพูดว่า จารีตประเพณีใครฝ่าฝืน ถือว่าเป็นผิดเป็นชั่ว.
  5. ตณฺหา : (อิต.) ความกระหาย, ความระหาย, ความอยาก, ความอยากได้, ความทะยาน (ดิ้นรน), ความทะยานอยาก (อยากได้ อยากมี อยากเป็น), ความกำหนัด (ความใครในกามคุณ), ความว่องไว (ใน อารมณ์), ความสน (นิ่งอยู่ไม่ได้), ความดิ้นรน, ความปรารถนา (ในกาม), ความเสน่หา (ติดพัน), ความแส่หา (ดิ้นรน), โลภ ความโลภ (อยากใคร่ในอารมณ์), ดำฤษณา, ตฤษณา. วิ. ตสนํ ตณฺหา. ยาย วา ตสนฺติ สา ตณฺหา ตสฺ ปิปาสายํ, ณฺห, สโลโป. ตสติ ปาตุ มิจฺฉติ เอตายาติ วา ตณฺหา. ตสติ ปาปํ อิจฺฉติ เอตายาติ วา ตณฺหา. ห ปัจ แปลง ณ. ส. ตฤษณา
  6. ETipitaka Pali-Thai Dict : ใคร, more results...

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : ใคร, 5 found, display 1-5
  1. ไม่เชื่อฟังใคร : อญฺเญสํ โสตพฺพํ น มญฺญติ
  2. ไม่มีใครปรามได้ : อตชฺชนีโย
  3. ไมยอมฟังใคร : อติมานี
  4. แคร่ : อฏนิยํ
  5. ผู้ติความชั่ว : ปาปครหี

(0.1652 sec)