Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ใจถึง .

Eng-Thai Lexitron Dict : ใจถึง, 1 found, display 1-1
  1. take heart : (IDM) ; กล้า ; Related:กล้าหาญ, ใจถึง, ไม่หวาดหวั่น

Thai-Eng Lexitron Dict : ใจถึง, 5 found, display 1-5
  1. ใจถึง : (V) ; be brave ; Related:dare, be courageous, be fearless, be undaunted, be bold ; Syn:ใจกล้า, กล้าได้กล้าเสีย, กล้าเสี่ยง ; Ant:ขี้ขลาด ; Def:ไม่ขลาดกลัว, ไม่หวาดหวั่น, ไม่เกรงกลัว ; Samp:เขาใจถึงขนาดที่กล้าชกกับนักมวยรุ่นใหญ่กว่า
  2. ใจถึง : (ADJ) ; daring ; Related:brave, sporting, fearless, undaunted, bold ; Syn:ใจกล้า, กล้าได้กล้าเสีย, กล้าเสี่ยง ; Ant:ขี้ขลาด ; Samp:เราต้องคอยต่อไปจนกว่าจะมีคนใจถึงเข้ามาแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้
  3. กลัวใจ : (V) ; admire from the bottom of one's heart ; Def:หวาดหวั่นใจในความใจถึงของเขา หรือทึ่งในความใจถึงของเขา ; Samp:ลูกข้ามันกล้าเล่นกับเงินหมื่นเงินพันเหมือนเป็นเงินร้อย ข้าละกลัวใจมันนัก
  4. คิดดู : (V) ; think about something (well) ; Related:consider something (carefully) ; Syn:ลองคิดดู ; Def:ไตร่ตรองหรือใคร่ครวญในใจถึงข้อเท็จจริง ; Samp:คุณคิดดูเอาเองแล้วกันว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงมาอย่างโหดร้ายจะมีนิสัยเป็นอย่างไร
  5. คนพาล : (N) ; hooligan ; Related:delinquent, yob/yobbo, ruffian, vandal, lager lout ; Syn:คนเลว, คนเกเร ; Ant:คนดี ; Samp:นิทานเรื่องนี้ให้คติสอนใจถึงการหลีกเลี่ยงการทำความชั่วคบคนดีหลีกหนีคนพาลซึ่งสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี ; Unit:คน

Royal Institute Thai-Thai Dict : ใจถึง, 1 found, display 1-1
  1. ใจถึง : ว. กล้าทํา, กล้าพูด.

Budhism Thai-Thai Dict : ใจถึง, 2 found, display 1-2
  1. สีหไสยา : นอนอย่างราชสีห์ คือนอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ กำหนดใจถึงการลุกขึ้นไว้ (มีคำอธิบายเพิ่มอีกว่า มือซ้ายพาดไปตามลำตัว มือขวาซ้อนศีรษะ ไม่พลิกกลับไปมา)
  2. สุญญตา : “ความเป็นสภาพสูญ”, ความว่าง 1.ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระคือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ดังเช่นขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรมหรือกระบวนธรรมล้วนๆ 2.ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน 3.โลกุตตรมรรค ได้ชื่อว่าเป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นสภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน) เพราะว่างจากกิเลสมีราคะเป็นต้น และเพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน เป็นอารมณ์ 4.ความว่าง ที่เกิดจากความกำหนดหมายในใจ หรือทำใจเพื่อให้เป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติกำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย; สุญตา ก็เขียน

ETipitaka Pali-Thai Dict : ใจถึง, 2 found, display 1-2
  1. อนุตฺถุนน : นป. อนุตฺถุนา อิต. การทอดถอนใจถึง, การคร่ำครวญถึง
  2. อนุตฺถุนาติ : ก. ๑. ยกย่อง, สรรเสริญ ; ๒. ทอดถอนใจถึง, คร่ำครวญถึง

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : ใจถึง, not found

(0.0355 sec)