ให้การ : (กฎ) ก. ให้ถ้อยคําเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นมา เช่น จําเลยให้การต่อศาล.
โยง ๑ : ก. ผูกให้ติดกันเพื่อลากหรือจูงไป เช่น โยงเรือ, เกี่ยวเนื่อง เช่น ให้การ โยงไปถึงอีกคนหนึ่ง. ว. เรียกอาการที่มัดมือ ๒ ข้างแขวนขึ้นไปให้เท้า พ้นพื้นหรือเรี่ย ๆ พื้นว่า มัดมือโยง, เรียกอาการที่อยู่ประจําแต่ผู้เดียว ผู้อื่นไม่ต้องอยู่ว่า อยู่โยง, เรียกเรือสําหรับลากจูงเรืออื่นว่า เรือโยง และ เรียกเรือที่ถูกลากจูงไปนั้นว่า เรือพ่วง.
ให้ถ้อยคำ : (กฎ) ดู ให้การ. ให้ท่า ก. พูดหรือแสดงกิริยาให้รู้ว่ายินดีติดต่อด้วยหรือไม่รังเกียจ(ใช้แก่ผู้หญิง).
กล, กล- : [กน, กนละ-] น. การลวงหรือล่อลวงให้หลงหรือให้เข้าใจผิด เพื่อให้ฉงนหรือเสียเปรียบ เช่น เล่ห์กล, เล่ห์เหลี่ยม เช่น กลโกง; เรียกการเล่นที่ลวงตาให้เห็นเป็นจริงว่า เล่นกล; เครื่องกลไก, เครื่องจักร, เครื่องยนต์, เช่น ช่างกล. ว. เช่น, อย่าง, เหมือน, เช่น เหตุผลกลใด; เคลือบแฝง เช่น ถ้าจําเลยให้การเป็นกลความ. (กฎหมาย).
แก้ฟ้อง : (กฎ) ก. แก้ไขคำฟ้องตามที่ศาลสั่งในกรณีที่ คำฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย; ยื่นคำให้การเป็นข้อ ต่อสู้คดีเพื่อแก้คำฟ้อง.
Royal Institute Thai-Thai Dict : ให้การ, more results...
กล่าวคำอื่น : ในประโยคว่า เป็นปาจิตติยะ ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น ถูกซักอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะให้การตามตรง เอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนเสีย
ตัสสาปาปิยสิกากรรม : กรรมอันสงฆ์พึงทำเพราะความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้เลวทราม, กรรมนี้สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้เป็นจำเลยในอนุวาทาธิกรณ์ ให้การกลับไปกลับมา เดี๋ยวปฏิเสธ เดี๋ยวสารภาพ พูดถลากไถล พูดกลบเกลื่อนข้อที่ถูกซัก พูดมุสาซึ่งหน้า สงฆ์ทำกรรมนี้แก่เธอเป็นการลงโทษตามความผิดแม้ว่าเธอจะไม่รับ หรือเพื่อเพิ่มโทษจากอาบัติที่ต้อง
นิสัย : 1.ที่พึ่ง, ที่อาศัย เช่น ขอนิสัยในการอุปสมบท (คือกล่าวคำขอร้องต่ออุปัชฌาย์ในพิธีอุปสมบท ขอให้ท่านเป็นที่พึ่ง ที่อาศัยของตน ทำหน้าที่ปกครองสั่งสอนให้การศึกษาอบรมต่อไป) อาจารย์ผู้ให้นิสัย (อาจารย์ผู้รับที่จะทำหน้าที่เป็นที่พึ่ง ที่อาศัยปกครองแนะนำในการศึกษาอบรม) 2.ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ๔ อย่าง คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช 3.ความประพฤติที่เคยชิน เช่น ทำจนเป็นนิสัย
ปฏิญญา : ให้คำมั่น, แสดงความยืนยัน, ให้การยอมรับ
สารณา : การให้ระลึก ได้แก่กิริยาที่สอบถามเพื่อฟังคำให้การของจำเลย, การสอบสวน
อัญญาวาทกรรม : กรรมที่จะพึงกระทำแก่ภิกษุผู้กล่าวคำอื่น คือภิกษุประพฤติอนาจาร สงฆ์เรียกตัวมาถาม แกล้งยกเรื่องอื่นๆ มาพูดกลบเกลื่อนเสีย ไม่ให้การตามตรง, สงฆ์สวดประกาศความนั้นด้วยญัตติทุติยกรรม เรียกว่า ยกอัญญวาทกรรมขึ้น, เมื่อสงฆ์ประกาศเช่นนี้แล้ว ภิกษุนั้นยังขืนทำอย่างเดิมอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สิกขาบทที่ ๒ แห่งภูตคามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์), คู่กับ วิเหสกกรรม
ปฏิญฺญา : อิต. ปฏิญญา, คำรับรอง, คำมั่น, สัญญา, การตกลง, การให้การเห็นชอบ, การอนุญาต
ปพฺพาเชติ : ก. ๑. ให้ออกไป, ขับไล่, เนรเทศ;
๒. ให้บวช, ให้การบรรพชา
สิกฺขาปก, สิกฺขาปนก : ค. ผู้ให้การศึกษา, ครู
อวนท : (ปุ.) คนผู้ให้การรักษา, หมอ, แพทย์.
อุปชฺฌาย : (ปุ.) อุปัชฌาย์, พระอุปัชฌาย์. วิ. มนสา อุเปจฺจ สิสฺสานํ หิเตสิตํ อุปฏฺฐ- เปตฺวา ฌายตีติ อุปชฺฌาโย (ผู้เพ่งด้วยใจ เข้าไปใกล้ชิด แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล แก่ศิษย์ ท.) พระเถระผู้ให้การอบรม, พระเถระผู้เป็นประธาน ในการอุปสมบท. อุปปุพฺโพ, เฌ จินฺตายํ, โณ. แปลง เอ เป็น อาย. ส. อุปธฺยาย.
อณฺหการ : ป. อาการร้อน