กรรม : การกระทำ หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือทำด้วยความจงใจหรือจงใจทำ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เช่น ขุดหลุมพรางดักคนหรือสัตว์ให้ตกลงไปตาย เป็นกรรม แต่ขุดบ่อน้ำไว้กินใช้ สัตว์ตกลงไปตายเอง ไม่เป็นกรรม (แต่ถ้ารู้อยู่ว่าบ่อน้ำที่ตนขุดไว้อยู่ในที่ซึ่งคนจะพลัดตกได้ง่าย แล้วปล่อยปละละเลย มีคนตกลงไปตาย ก็ไม่พ้นเป็นกรรม) การกระทำที่ดีเรียกว่า กรรมดี ที่ชั่ว เรียกว่า กรรมชั่ว - 1.Karma; Kamma; a volitional action; action; deed; good and bad volition. 2.work; job; activity; transaction.
กรรมกิเลส : กรรมเครื่องเศร้าหมอง, การกระทำที่เป็นเหตุให้เศร้าหมอง มี ๔ อย่างคือ ๑.ปาณาติบาต การทำชีวิตให้ตกล่วงคือ ฆ่าฟันสังหารกัน ๒.อทินนาทาน ถือเอาของที่เจ้าของเขามิได้ให้คือลักขโมย ๓.กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม ๔.มุสาวาท พูดเท็จ - an action causing impurity; depravity of action; vice of conduct.
กรรมบถ : course of action; way of action; Karma as the way leading to the woeful or blissful existences.
กรรมนิยาม : order of act and result; the law of Karma.
กัมมัฏฐาน :
ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบายทางใจ, วิธีฝึกอบรมจิต มี ๒ ประเภท คือ สมถกัมมัฏฐาน อุบายสงบใจ ๑ วิปัสสนากัมมัฏฐาน อุบายเรืองปัญญา ๑ (นิยมเขียน กรรมฐาน) ดู ภาวนา -subjects of meditation, meditation exercises, the act of meditation or contemplation, ground for mental culture.
กตัตตากรรม :
กรรมสักว่าทำ, กรรมที่เป็นกุศลก็ตาม อกุศลก็ตาม สักแต่ว่าทำคือไม่ได้จงใจจะให้เป็นอย่างนั้นโดยตรง หรือมีเจตนาอ่อนไม่ชัดเจน ย่อมให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่น ท่านเปรียบเสมือนคนบ้ายิงลูกศร ย่อมไม่มีความหมายจะให้ถูกใคร ทำไปโดยไม่ตั้งใจชัดเจน ดู กรรม๑๒ - casual act, cumulative or reserve Karma.
กรรมวาจา : คำประกาศกิจในท่ามกลางสงฆ์, การสวดประกาศ แบ่งเป็น ๒ คือ ญัตติ ๑ อนุสาวนา ๑ - the formal words of an act; text of a formal act, i.e. a motion (ญัตติ) together with one or three proclamations (อนุสาวนา) that may follow.