ครีษมายัน : [คฺรีดสะ-] (ดารา) น. จุดสุดทางเหนือ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏในราว วันที่ ๒๒ มิถุนายน เป็นจุดในหน้าร้อน มีกลางวันยาวที่สุด เรียกว่า ครีษมายัน (summer solstice), คู่กับ เหมายัน, อุตตรายัน ก็เรียก. (ส. คฺรีษฺม + อายน).
ทักษิณายัน : น. ทางใต้; (ดารา) จุดสุดทางใต้ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏ ในราววันที่ ๒๒ ธันวาคม เป็นจุดในหน้าหนาว มีกลางคืนยาวที่สุด เรียกว่า ทักษิณายัน (winter solstice), คู่กับ อุตตรายัน, เหมายัน ก็เรียก. (ส.; ป. ทกฺขิณ + ส. อายน).
เหมายัน : [เห-] (ดารา) น. จุดสุดทางใต้ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏในราววันที่ ๒๒ ธันวาคมเป็นจุดในหน้าหนาว มีกลางคืนยาวที่สุด เรียกว่า เหมายัน (winter solstice), คู่กับ ครีษมายัน, ทักษิณายัน ก็เรียก. (ป., ส. หิม + ส. อายน).
อายัน ๒ : น. การมาถึง, นิยมใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น เหมายัน หมายถึงการมาถึงฤดูหนาว ครีษมายัน หมายถึง การมาถึงฤดูร้อน, ทางดาราศาสตร์ หมายถึงจุดหยุด คือจุดสุดทางเหนือและทางใต้ ที่ดวงอาทิตย์โคจรไปถึง. (อ. solstice).
อุตตรายัน : [อุดตฺรา] (ดารา) น. จุดสุดทางเหนือ เมื่อดวงอาทิตย์ ปรากฏในราววันที่ ๒๒ มิถุนายน เป็นจุดในหน้าร้อน มีกลางวัน ยาวที่สุด เรียกว่า อุตตรายัน (summer solstice), คู่กับ ทักษิณายัน, ครีษมายัน ก็เรียก. (ป. อุตฺตร + ส. อายน).