ก่อการ : ก. ริเริ่มการ.
ผู้ก่อการร้าย : น. บุคคลที่ตั้งตนเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลและ พยายามก่อความไม่สงบขึ้นในที่ต่าง ๆ.
กฎอัยการศึก : (กฎ) น. กฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นไว้สําหรับประกาศใช้ เมื่อมีเหตุจําเป็น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอํานาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ์ การระงับปราบปราม หรือการรักษา ความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอํานาจพิจารณาพิพากษา คดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน.
ทหารผ่านศึก : (กฎ) น. ทหารหรือบุคคลซึ่งมีตําแหน่งหน้าที่ใน ราชการทหารหรือบุคคลซึ่งทําหน้าที่ทหารตามที่กระทรวง กลาโหมกําหนด และได้กระทําหน้าที่นั้นในการสงครามหรือ ในการรบไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรหรือในการ ปราบปรามการจลาจล; ทหารหรือบุคคลซึ่งทําการป้องกันหรือ ปราบปรามการกระทําอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความ ปลอดภัยแห่งราชอาณาจักรตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสํานัก นายกรัฐมนตรีกําหนด.
บริคณห์สนธิ : (กฎ) น. เอกสารก่อตั้งบริษัทจํากัดซึ่งผู้เริ่มก่อการบริษัท จํานวนตั้งแต่ ๗ คนขึ้นไป เข้าชื่อกันจัดทําขึ้นตามข้อกําหนดของ กฎหมายในการจัดตั้งบริษัทจํากัด เรียกว่า หนังสือบริคณห์สนธิ.
ยุ่งเหยิง : ว. ยุ่งกันใหญ่, วุ่นวายไม่มีระเบียบ, เช่น การจลาจลทำให้ บ้านเมืองยุ่งเหยิง.
วุ่นวาย : ก. เอาเป็นธุระมากเกินไป เช่น เขาชอบเข้าไปวุ่นวายกับ เรื่องของคนอื่นไม่ต้องเตรียมอะไรมากหรอก อย่าวุ่นวายไปเลย; ไม่สงบ เช่น บ้านเมืองวุ่นวายเกิดจลาจลไปทุกหนทุกแห่ง. น. ความไม่สงบ เช่น เกิดวุ่นวายไปทั่วบ้านทั่วเมือง.
หัวหอก : น. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่นำผู้อื่นไปก่อนในการต่อสู้ หรือการพัฒนาสังคมเป็นต้น เช่น ส่งทหารพรานเป็นหัวหอกไปค้นหา ผู้ก่อการร้าย.