อนุสาสนีปาฏิหาริย์ : น. การสอนเป็นอัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอน อันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไปตามได้อย่างน่าอัศจรรย์, เป็น ปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
ปาฏิหาริย์ : [-ติหาน] น. สิ่งที่น่าอัศจรรย์, ความอัศจรรย์, มี ๓ อย่าง คือ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ = ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ ที่พ้นวิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๒. อาเทสนา ปาฏิหาริย์ = การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจคน ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ = การสอนเป็น อัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอนอันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไป ตามได้อย่างน่าอัศจรรย์. (ปาก) ก. กระทำสิ่งที่ตามปรกติทำไม่ได้ เช่น ปาฏิหาริย์ขึ้นไปอยู่บนหลังคา. (ป.).
อนุสาสนี : [อะนุสาสะนี] น. คําสั่งสอน. (ป.; ส. อนุศาสนี).
อิทธิปาฏิหาริย์ : น. ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ที่พ้น วิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์, เป็นปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ใน ปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และ อนุสาสนีปาฏิหาริย์. (ป.).
อาเทสนาปาฏิหาริย์ : น. การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจคนได้อย่างน่า อัศจรรย์, เป็นปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
ยมกปาฏิหาริย์ : น. ปาฏิหาริย์ที่แสดงเป็นคู่ ๆ เป็นปาฏิหาริย์ที่พระพุทธเจ้า ทรงกระทําที่ต้นมะม่วงซึ่งเรียกว่าคัณฑามพพฤกษ์ คือ ทรงบันดาลท่อนํ้า ท่อไฟออกจากส่วนของพระกายเป็นคู่ ๆ กัน. (ป.).
ปราติหารย์ : [ปฺราติหาน] (กลอน) น. ปาฏิหาริย์. (ส. ปฺราติหารฺย; ป. ปาฏิหาริย).
อนุสาสนี : (อิต.) การพร่ำสอน, คำสั่งสอน, อนุศาสนี (คำสอนสำคัญที่ต้องสอนบ่อยๆ)ส. อนุศาสนี.
ปาฏิหาริ, ปาฏิหาริก, ปาฏิหาริย, ปาฏิหีร, ปาฏิเหร : นป. ปาฏิหาริย์, ความมหัศจรรย์, ปรากฏการณ์ที่แปลกประหลาด
ยมกปาฏิหาริย : (นปุ.) ปาฏิ หาริย์เป็นคู่, ปาฏิหาริย์ที่ทรงแสดงปราบเดียรถีย์ มีครั้งเดียวเท่านั้น.
อปฺปาฏิหาริย : ค. ไม่มีปาฏิหาริย์, ไม่มีความอัศจรรย์
อิทฺธิปาฏิหาริย : (นปุ.) ความอัศจรรย์อันเกิด จากความสำเร็จ, อิทธิปาฏิหาริย์ (สิ่งที่น่าอัศจรรย์ การแสดงฤทธิ์ได้เป็น อัศจรรย์).
คณฺฑมฺพ : ป. ต้นคัณฑามพพฤกษ์, ต้นมะม่วงชนิดหนึ่งเป็นที่ซึ่งพระโคตมพุทธเจ้าได้ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์
อนุสาสน : (นปุ.) การพร่ำสอน, การสั่งสอน, การว่ากล่าว, คำสั่งสอน, คำชี้แจง, อนุ-ศาสน์.วิ.อนุสาสิยเตติอนุสาสนํ.ส. อนุศาสนคำสั่งวินัย.