อ้อมค้อม : ว. วกวน, ลดเลี้ยว, ไม่ตรงไปตรงมา, (ใช้แก่กริยาพูด).
ลดเลี้ยว : ก. อ้อมไปอ้อมมา, คดไปคดมา, เช่น ทางลดเลี้ยวไป ตามไหล่เขา, อ้อมค้อม, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น พูดจาลดเลี้ยว, เลี้ยวลด ก็ว่า.
เลี้ยวลด : ก. อ้อมไปอ้อมมา, คดไปคดมา, เช่น ทางเลี้ยวลดไปตาม ไหล่เขา, อ้อมค้อม, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น พูดจาเลี้ยวลด, ลดเลี้ยว ก็ว่า.
ตรง, ตรง ๆ : [ตฺรง] ว. ไม่คดโค้ง เช่น ทางตรง, ไม่งอ เช่น นั่งตัวตรง, ไม่เอียง เช่น ตั้งเสา ให้ตรง ยืนตรง ๆ; ซื่อ, ไม่โกง, เช่น เขาเป็นคนตรง; เที่ยงตามกําหนด เช่น เวลา ๓ โมงตรง นาฬิกาเดินตรงเวลา; เปิดเผยไม่มีลับลมคมใน, ไม่ปิดบัง อําพราง, ไม่อ้อมค้อม, เช่น พูดตรงไปตรงมา บอกมาตรง ๆ; รี่, ปรี่, เช่น ตรง เข้าใส่; ถูกต้องตาม เช่น ตรงเป้าหมาย. บ. ที่แห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ตรงนี้ ตรงนั้น.
นิปริยาย : [นิปะริยาย] (แบบ) น. ความไม่อ้อมค้อม, ความตรง. (ตรงกันข้ามกับ ปริยาย = อย่างอ้อม). ว. สิ้นเชิง. (ป. นิปฺปริยาย).
โผง : ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น ไม้หักโผง ปลาฮุบโผง; โดยปริยายหมายความ ว่า ไม่ยับยั้งอ้อมค้อม (ใช้ในลักษณะอาการที่นึกจะพูดก็พูดออกมา ตรง ๆ ไม่เกรงใจ), โผงผาง ก็ว่า.
โผงผาง : ว. ลักษณะการพูดตรง ๆ ไม่เกรงใจ, ไม่ยับยั้งอ้อมค้อม, โผง ก็ว่า.