debian: ทำ Host ใช้เอง
Submitted by wd on Sat, 2007-01-20 13:47
เห็นมีการคุยกันที่ codenone เรื่องโฮสต์ไพธอนหายากมาก
จึงขออนุญาตบันทึกการทำโฮสต์ไว้ใช้เองไว้ที่นี่แทน เพราะว่าเราใช้เดเบียน ;D
เพื่อจะได้สามารถใช้งาน Python Ruby หรือแพกเกจที่ไม่ใช่แพกเกจท้องตลาดได้อย่างอิสระเสรี
ขั้นตอนคร่าว ๆ คือ
- คิดชื่อโดเมน และตรวจสอบว่าชื่อที่เราตั้งยังว่างอยู่หรือไม่
- จดทะเบียน dynamic domain name server
- จดทะเบียนชื่อโดเมน
- สร้างสคริปต์สำหรับเปลี่ยนไอพี เมื่อสายหลุด
เริ่มด้วย
- คิดชื่อโดเมน และตรวจสอบว่าชื่อที่เราตั้งยังว่างอยู่หรือไม่
สามารถตรวจดูได้จากเว็บโฮสติ้งทั่วไป - จดทะเบียน dynamic domain name server
ที่ผมใช้อยู่คือนอกจากสองที่นี้แล้ว ยังมีอีกมาก สามารถลองค้นจากกูเกิลได้ ด้วยคำว่า "free dynamic dns" ครับ
เมื่อลงทะเบียนและใส่ชื่อโดเมนเราแล้ว เขาจะให้ชื่อ DNS เรามาสองชื่อ เช่นของ zoneedit จะเป็น ns1.zoneedit.com และ ns2.zoneedit.com (ชื่อ DNS จริงอาจแปลกไปจากตัวอย่าง) ซึ่งเราจะเอาชื่อทั้งสองชื่อนี้ ไปจดทะเบียนชื่อโดเมนต่อไป - จดทะเบียนชื่อโดเมน
ขั้นตอนนี้ก็สามารถจดได้ทั่วไปครับ โดยในขั้นตอนการจดทะเบียน เขาจะมีช่องให้ใส่ชื่อ DNS เราก็เอาชื่อที่ได้มาจากขั้นตอนก่อน ทั้งสองชื่อใส่ลงไปก็เรียบร้อย - สร้างสคริปต์สำหรับเปลี่ยนไอพี เมื่อสายหลุด
ขั้นตอนนี้ จริง ๆ แล้วมีสคริปต์ที่เขาทำกันเอาไว้อยู่แล้ว เช่น ddclient แต่ผมใช้ไม่เป็นครับ และเห็นว่าส่วนใหญ่เขาจะใช้วิธี ping ไปที่ DNS เป็นระยะ ซึ่งวิธีนี้ทำให้สิ้นเปลืองแบนด์วิธโดยไม่จำเป็น สู้เขียนสคริปต์เอาเองดีกว่า
ขั้นตอนนี้ขอติดไว้ก่อนครับ เพราะจะพยายามแบ่งตามเซิร์ฟเวอร์ที่เราไปจดทะเบียน
เกร็ด
- ddns แต่ละที่ จะมีความเร็วในการอัปเดตต่างกัน
- zoneedit.com ใช้เวลาประมาณ 1 นาที
- everydns.net ประมาณ 2-5 นาที
รวมทั้งขั้นตอนการอัปเดตก็ต่างกัน
- zoneedit.com ใช้ wget อย่างเดียว
- ส่วน everydns.net ใช้สคริปต์ Perl
- ข้อเสียของวิธีนี้คือ
- ต้องเปิดเครื่องทิ้งไว้ตลอดเวลา
- ต้องพึ่งพาการใช้ DDNS จากเมืองนอก เพราะเมืองไทยยังไม่มีบริการแบบนี้ เวลาที่มีปัญหาช่องสัญญาณเมืองนอกขัดข้อง การอัปเดตจะขัดข้องตามไปด้วย
- ถ้าการใช้งานอินเตอร์เนตของเราเป็นแบบ adsl (Asynchronous Digital Subscriber Line) ความเร็วในการอัปโหลดจะต่ำกว่าความเร็วในการดาวน์โหลดพอสมควร จึงควรเพิ่มความเร็วให้สูงเข้าไว้ จะให้ผลดีกว่า
- ส่วนข้อดีก็คือ เราสามารถทดลองได้อย่างที่เราต้องการ ไม่มีข้อจำกัดของโฮสติ้งมาเกี่ยว
- ในข้อเขียนนี้ ไม่ได้อธิบายการป้องกันเซิร์ฟเวอร์ไว้ด้วย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ควรป้องกันเซิร์ฟเวอร์เราไว้ก่อนหนึ่งชั้นด้วยแพกเกจ portsentry
# aptitude install portsentry
โดยเราจะใช้ค่าปริยายทั้งหมด โดยไม่ต้องปรับแต่งอะไรเลย
ส่วนการป้องกันเซิร์ฟเวอร์ให้ดียิ่งขึ้น ควรศึกษาเพิ่มเติมด้วยครับ - รายชื่อ Free Dynamic DNS พร้อมรีวิว
- Printer-friendly version
- Log in or register to post comments
- 6214 reads
Recent comments