10.เกร็ดอื่น ๆ
10.1 การสั่งรันสคริปต์และคำสั่ง source
การสั่งรันสคริปต์ในเชลล์ มีเกร็ดคือ
- ถ้าเราใส่ชื่อสคริปต์พร้อมพาธ เชลล์จะค้นหาสคริปต์จากชื่อเต็มที่เราใส่ เช่น
$ /bin/ls
- ถ้าเราใส่ชื่อสคริปต์โดด ๆ เชลล์จะค้นหาสคริปต์จากตัวแปร
$PATH
โดยไม่สนใจไดเรคทอรี่ปัจจุบัน เช่น
$ mycode
หากค้นไม่พบ จะแสดงข้อผิดพลาด
แต่หากต้องการสั่งรันสคริปต์ในไดเรคทอรี่ปัจจุบัน เราต้องใช้คำสั่งอ้างอิงคือ$ ./mycode
เมื่อสคริปต์ถูกรันจนจบแล้ว ค่าของตัวแปรต่าง ๆ ในสคริปต์จะถูกลบไปด้วย ยกเว้นถ้าเราใช้คำสั่ง source
หรือคำสั่ง .
เชลล์จะรันคำสั่งนั้นโดยถือเสมือนเป็นสภาพแวดล้อมเดียวกัน ดังนั้นค่าตัวแปรต่าง ๆ ในสคริปต์จะยังคงค้างอยู่ในเชลล์
โดยเมื่อใช้คำสั่งนี้แล้ว การค้นหาสคริปต์ เชลล์จะค้นหาจากตัวแปร $PATH
ก่อน ตามด้วยไดเรคทอรี่ปัจจุบันด้วย
เช่น ถ้าสคริปต์ mycode มีเนื้อไฟล์เป็น
#!/bin/bash ABC="This is new ABC"
ทดลองรันได้ดังนี้
$ ABC="Old ABC" $ echo $ABC Old ABC $ ./mycode $ echo $ABC Old ABC $ . mycode $ echo $ABC This is new ABC
10.2 การแทนค่าตัวเลข
เราใช้ $((ARITHMATIC))
หรือ $[ARITHMATIC]
ในการแทนค่าตัวแปร
ดังนี้
$ echo $(1+1) bash: 1+1: command not found $ echo 1+1 1+1 $ echo $((1+1)) 2 $ echo $[1+1] 2
10.3 bash อยู่ที่ไหน
บรรทัดเริ่มต้นของสคริปต์ หลังเครื่องหมาย #!
(hash-bang) เราต้องใส่พาธของโปรแกรม bash ให้เต็ม
สำหรับเดเบียน อยู่ที่ /bin/bash
อยู่แล้ว แต่หากเป็นดิสโตรอื่น อาจค้นหาว่าโปรแกรม bash อยู่ที่ไหน โดยใช้คำสั่งเหล่านี้
$ which bash $ whereis bash $ find / -name bash
10.4 ดูค่าที่โปรแกรมส่งออกมา
หลายโปรแกรมของเชลล์มีการส่งค่าออกมา (Return value) อาจเพื่อแจ้งสถานะการรันว่ารันสำเร็จหรือไม่อย่างไร หรืออาจส่งออกเป็นค่าที่จะนำไปประมวลผลต่อก็ตาม เราสามารถใช้ตัวแปรพิเศษ $?
ในการดูผลลัพธ์ของโปรแกรมได้
เช่น
#!/bin/bash cd /dada &> /dev/null echo rv: $? cd $(pwd) &> /dev/null echo rv: $?
กรณีนี้ ไดเรคทอรี่ /dada
เป็นไดเรคทอรี่ที่เราแกล้งพิมพ์ผิดไว้ เพื่อดูว่าสคริปต์จะส่งออกค่าออกมาเป็นอย่างไร ซึ่งจะได้ผลออกมาเป็น 1 และ 0 ตามลำดับ คือ 1 หมายถึงมีข้อผิดพลาดในโปรแกรม และ 0 หมายถึงรันสำเร็จ ไม่มีข้อผิดพลาดใด ๆ
10.5 จับการแสดงผลใส่ตัวแปร
เราสามารถนำผลลัพธ์ของโปรแกรมมาใส่ในตัวแปร ด้วยการสั่งภายใต้เครื่องหมาย `
(grave accent)
เช่น
#!/bin/bash DBS=`mysql -u root -e "show databases"` for b in $DBS ; do mysql -u root -e "show tables from $b" done
เป็นการนำผลลัพธ์ของคำสั่งแรกคือ mysql -u root -e "show databases"
มาใส่ในตัวแปร DBS
เพื่อทำเป็นขอบเขตให้กับตัวแปร b
ในคำสั่ง for
อีกครั้งหนึ่ง
ตามตัวอย่างจะแสดงผลทุกตารางในทุกฐานข้อมูลของ mysql
- Printer-friendly version
- Log in or register to post comments
- 3463 reads
Recent comments