10. มีอะไรให้ใช้บ้าง (Brief Tour of the Standard Library)
10.1 งานของระบบปฏิบัติการ (Operating System Interface)
10.2 ไฟล์ไวลด์คาร์ด (File Wildcards)
10.3 อาร์กิวเมนต์ (Command Line Arguments)
10.4 นำเข้า ส่งออก และเปลี่ยนทิศ (Error Output Redirection and Program Termination)
10.5 จับคู่สตริงก์ (String Pattern Matching)
10.6 คณิตศาสตร์ (Mathematics)
10.7 อินเตอร์เน็ต (Internet Access)
10.8 วันที่และเวลา (Dates and Times)
10.9 การบีบอัดข้อมูล (Data Compression)
10.10 จับประสิทธิภาพ (Performance Measurement)
10.11 การควบคุมคุณภาพ (Quality Control)
10.12 พร้อมใช้ (Batteries Included)
เรามาดูว่าในไลบรารีมาตรฐานของไพธอน มีฟังก์ชั่นหรือเมธอดในมอดูล อะไรให้ใช้บ้าง
10.1 งานของระบบปฏิบัติการ (Operating System Interface)
os
- มอดูล
os
มีเมธอดให้ใช้เยอะมาก>>> import os >>> os.system('time 0:02') 0 >>> os.getcwd() # Return the current working directory 'C:\Python24' >>> os.chdir('/server/accesslogs')
ต้องสั่งว่า
import os
เท่านั้น ห้ามใช้ว่าfrom os import *
อันนี้เป็นภาคบังคับ ไม่งั้นชื่อฟังก์ชั่นจะตีกันเละกับบิลด์อินฟังก์ชั่น
ถ้างงหรือหลงลืม ให้ใช้บิลด์อินฟังก์ชั่นสองตัวคือdir()
และhelp()
ดูว่าในมอดูลมีอะไรบ้าง>>> import os >>> dir(os) <returns a list of all module functions> >>> help(os) <returns an extensive manual page created from the module's docstrings>
shutil
- สำหรับงานจิปาถะเล็ก ๆ น้อย ๆ อาจใช้ตัวนี้แทน ดูจะอ่านเข้าใจง่ายกว่า
>>> import shutil >>> shutil.copyfile('data.db', 'archive.db') >>> shutil.move('/build/executables', 'installdir')
10.2 ไฟล์ไวลด์คาร์ด (File Wildcards)
glob
- ใช้กับไวลด์คาร์ดคล่องตัวกว่า
>>> import glob >>> glob.glob('*.py') ['primes.py', 'random.py', 'quote.py']
10.3 อาร์กิวเมนต์ (Command Line Arguments)
sys
- ใช้เยอะมาก เช่น สมมุติไฟล์
demo.py
มีโค๊ดแบบนี้#!/usr/bin/env python import sys print sys.argv
พอสั่งงานจากบรรทัดคำสั่งว่า
"python demo.py one two three"
จะได้ผลลัพธ์แบบนี้$ python demo.py one two three ['demo.py', 'one', 'two', 'three']
10.4 นำเข้า ส่งออก และเปลี่ยนทิศ (Error Output Redirection and Program Termination)
sys
- ใช้
sys
เหมือนเดิม เพราะในนี้มีฟังก์ชั่นของstdin
stdout
และstderr
เราจะผันการแสดงผลลัพธ์ไปทางไหน ก็ใช้จากมอดูลนี้>>> sys.stderr.write('Warning, log file not found starting a new one ') Warning, log file not found starting a new one
เวลาต้องการหยุดการทำงานของโปรแกรม ใช้
sys.exit()
เป็นปกติ
10.5 จับคู่สตริงก์ (String Pattern Matching)
re
- ใช้งาน เรกูลาร์เอกเพรสชั่น (regular expression) ได้สะดวกและเป็นธรรมชาติ
>>> import re >>> re.findall(rf[a-z]*', 'which foot or hand fell fastest') ['foot', 'fell', 'fastest'] >>> re.sub(r'[a-z]+) ', r'', 'cat in the the hat') 'cat in the hat'
- ใช้เมธอดของสตริงก์ที่มีอยู่แล้ว
- ถ้างานไม่ซับซ้อน ใช้อันนี้เร็วกว่า อ่านง่ายตรวจง่าย
>>> 'tea for too'.replace('too', 'two') 'tea for two'
10.6 คณิตศาสตร์ (Mathematics)
math
- มอดูลนี้ ใช้งานทศนิยมลอยและไลบรารีมาตรฐานทางคณิตศาตร์ได้คล่องตัวกว่า
>>> import math >>> math.cos(math.pi / 4.0) 0.70710678118654757 >>> math.log(1024, 2) 10.0
random
- งานการสุ่มแยกออกมาจาก
math
>>> import random >>> random.choice(['apple', 'pear', 'banana']) 'apple' >>> random.sample(xrange(100), 10) # sampling without replacement [30, 83, 16, 4, 8, 81, 41, 50, 18, 33] >>> random.random() # random float 0.17970987693706186 >>> random.randrange(6) # random integer chosen from range(6) 4
10.7 อินเตอร์เน็ต (Internet Access)
urllib2
- ใช้งานด้านลูกข่าย (client) เช่นเปิดดู url เป็นต้น
>>> import urllib2 >>> for line in urllib2.urlopen('http://tycho.usno.navy.mil/cgi-bin/timer.pl'): ... if 'EST' in line or 'EDT' in line: # look for Eastern Time ... print line <BR>Nov. 25, 09:43:32 PM EST
smtplib
- ใช้จัดการเมล
>>> import smtplib >>> server = smtplib.SMTP('localhost') >>> server.sendmail('soothsayer@example.org', 'jcaesar@example.org', """To: jcaesar@example.org From: soothsayer@example.org Beware the Ides of March. """) >>> server.quit()
10.8 วันที่และเวลา (Dates and Times)
datetime
- มอดูลนี้มีฟังก์ชั่นทางวันที่และเวลาเยอะ รวมทั้งยังรองรับเรื่องโซนเวลาด้วย
# dates are easily constructed and formatted >>> from datetime import date >>> now = date.today() >>> now datetime.date(2003, 12, 2) >>> now.strftime("%m-%d-%y. %d %b %Y is a %A on the %d day of %B.") '12-02-03. 02 Dec 2003 is a Tuesday on the 02 day of December.' # dates support calendar arithmetic >>> birthday = date(1964, 7, 31) >>> age = now - birthday >>> age.days 14368
10.9 การบีบอัดข้อมูล (Data Compression)
- มีเพียบ
zlib
gzip
bz2
zipfile
tarfile
- ลองดู
zlib
เป็นตัวอย่าง>>> import zlib >>> s = 'witch which has which witches wrist watch' >>> len(s) 41 >>> t = zlib.compress(s) >>> len(t) 37 >>> zlib.decompress(t) 'witch which has which witches wrist watch' >>> zlib.crc32(s) 226805979
10.10 จับประสิทธิภาพ (Performance Measurement)
timeit
- ใช้จับเวลา ตัวอย่างเป็นการจับเวลาเทียบกันระหว่างการสลับค่าแบบโบราณ คือเอาตัวแปรชั่วคราวมาใช้สำหรับสลับ กับการสลับแบบใช้ทูเปิลที่ไพธอนถนัด ว่าอันไหนเร็วกว่า
>>> from timeit import Timer >>> Timer('t=a; a=b; b=t', 'a=1; b=2').timeit() 0.57535828626024577 >>> Timer('a,b = b,a', 'a=1; b=2').timeit() 0.54962537085770791
สนุก ๆ นะครับ อันนี้เครื่องผม Intel Core2 Duo E6300 เริ่มเก่าแล้วละ ไพธอนรุ่น 2.4.4 [GCC 4.2.3 20071123 (prerelease) (Debian 4.2.2-4)]
>>> Timer('t=a; a=b; b=t', 'a=1; b=2').timeit() 0.21430277824401855 >>> Timer('a,b = b,a', 'a=1; b=2').timeit() 0.14265108108520508
จะเห็นว่าใช้สลับแบบทูเปิลเร็วกว่าเยอะ โดยเฉพาะซีพียูรุ่นใหม่ ๆ (และไพธอนรุ่นเกือบใหม่)
อันนี้เป็นแบบเล่น ๆ ถ้าเอาจริงจังก็ยังมีมอดูล profile ใช้ดูเวลาโค๊ดเยอะ ๆ
10.11 การควบคุมคุณภาพ (Quality Control)
มาถึงนี่ได้ก็เริ่มเก๋าแล้วครับ อันนี้ใช้กับงานใหญ่ ๆ ที่เราจะจัดการดูแลโค๊ดเราให้มีมาตรฐานที่ดี เผื่อว่าใครจะเอาไปใช้ หรือจะทำงานร่วมกับใคร ก็จะเข้ากันได้แบบไร้ปัญหา
doctest
- ใช้ตรวจสอบมอดูล โดยเราจะต้องเขียนผลการทดสอบที่เราหวังว่ามันจะเป็นแบบนั้นไว้ใน docstring เวลารัน เขาก็จะทดสอบรันตามนั้น ถ้าผลตรงกันก็ใช้ได้ แต่ถ้าผลไม่ตรง ก็จะรายงานออกมา
def average(values): """Computes the arithmetic mean of a list of numbers. >>> print average([20, 30, 70]) 40.0 """ return sum(values, 0.0) / len(values) import doctest doctest.testmod() # automatically validate the embedded tests
unittest
- ใช้งานยากกว่า แต่ดูเป็นระบบใช้ได้จริงกว่า
import unittest class TestStatisticalFunctions(unittest.TestCase): def test_average(self): self.assertEqual(average([20, 30, 70]), 40.0) self.assertEqual(round(average([1, 5, 7]), 1), 4.3) self.assertRaises(ZeroDivisionError, average, []) self.assertRaises(TypeError, average, 20, 30, 70) unittest.main() # Calling from the command line invokes all tests
10.12 พร้อมใช้ (Batteries Included)
ไพธอนพยายามทำให้ตัวเองพร้อมใช้งานมากที่สุด จึงพยายามจัดแพกเกจและมอดูลมาให้ครบถ้วน เช่น
- มอดูล xmlrpclib และ SimpleXMLRPCServer ที่ทำงานกับ XML-RPC ได้ทั้งฝั่งลูกข่ายและแม่ข่าย โดยที่เราไม่ต้องเข้าไปจัดการกับโค๊ด XML เอง
- แพกเกจ email ไม่เพียงแค่รับส่งอีเมล แต่มีฟังก์ชั่นของการเข้ารหัสและปรุงส่วนหัวของเมลให้ด้วย
- แพกเกจ xml.dom และ xml.sax ใช้ในการทำงานกับภาษา XML อย่างมีประสิทธิภาพ ในทำนองเดียวกันมอดูล csv ก็รองรับการทำงานกับไฟล์ csv รวม ๆ กันแล้วก็ทำให้ลดความยุ่งยากในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างงานได้เป็นอย่างดี
- งานที่ต้องใช้งานหลายภาษาในหลายประเทศ ก็มีมอดูลหรือแพกเกจอย่าง gettext locale และ codecs
บางทีการ "พร้อมใช้" ก็อาจสู้มอดูลจากข้างนอกไม่ได้เหมือนกัน แต่โดยรวม ๆ แล้วถือว่าเจ๋งพอตัว
- Printer-friendly version
- Log in or register to post comments
- 48473 reads
Recent comments